นางอุทัยวรรณ สัจจะบุตร

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาได้แก่ ๑) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านโคกตา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๒ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา๒๕๖๑ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านโคกตา อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ที่เรียนในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ จำนวน ๑ ห้อง จำนวน ๓๒ คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ เล่มที่ ๑ – ๔ และแผนการจัดการเรียนรู้ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา จำนวน ๒๒ แผ่น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ ๓ ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อ ใช้ทดสอบทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ จำนวน ๑๐ ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ร้อยละร้อยละความก้าวหน้า และการทดสอบที (t-test)
ผลการศึกษา พบว่า
๑. ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ เท่ากับ(๘๕.๙๖/๘๔.๘๐) มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
๒. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.๐๕ โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ย ๑๓.๑๕
๔. ระดับความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก